www.atthaphon.com

  Login or Register   
  My basket (0)   
 

ศึกษาติดตามผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2549-2552 ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี 

บทที่ 1

บทนำ

 

ภูมิหลัง

คนเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ในแผนการพัฒนาการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 9 จึงมุ่งเน้นคนให้เป็นศูนย์กลางของการพัฒนา (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2548:2) โดยส่งเสริมให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาเพราะการศึกษาเป็นขบวนการสร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้า และ แก้ไขปัญหาต่าง ๆ ในสังคมได้ (บุญศักดิ์  ใจจงกิจ 2540:5) เนื่องจากการศึกษาเป็นกระบวนการที่จะช่วยให้คนได้พัฒนาตนเองในด้านต่างๆ ได้ตลอดชีวิต ตั้งแต่การวางรากฐานพัฒนาการของชีวิตแต่แรกเกิด การพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถในด้านต่าง ๆ ที่จะประกอบอาชีพได้อย่างมีความสุข (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2540:2) ซึ่งการพัฒนาคุณภาพการศึกษาสามารถทำได้โดยจัดการศึกษาให้คนมีคุณธรรม จริยธรรม รู้จักหน้าที่ของตนเอง สามารถทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมได้อย่างราบรื่น  นอกจากนี้ยังต้องพัฒนาคนให้มีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพ ( โกศล เพชรสุวรรณ.2534:51 ) หน่วยงานของรัฐจึงส่งเสริมและ สนับสนุนการพัฒนาคุณภาพการศึกษา ทุกระดับโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดการอาชีวศึกษา (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.2535  : 1)   ซึ่งเป็นการจัดการศึกษา ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาความรู้ความสามารถ และทักษะตามสาขาวิชาชีพของตนสามารถนำความรู้ที่ได้ ไปประกอบอาชีพให้สอดคล้องกับความต้องการ ของตลาดแรงงาน (สำนักงานคณะ กรรมการศึกษาแห่งชาติ2537:2) โดยพัฒนาหลักสูตรทั้งระยะสั้นระยะยาวในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.) และประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.) ตลอดจนรูปแบบการจัดการศึกษาที่หลากหลาย ซึ่งในปัจจุบันสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ได้ดำเนินการจัดการ ศึกษา เป็น 3 รูปแบบ คือ (มานพ จันทน์เทศ. 2518:28-32)

รูปแบบที่  1 จัดในสถานศึกษาและฝึกอาชีพแต่เพียงอย่างเดียวทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ

รูปแบบที่ 2 จัดในสถานศึกษาทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ โดยส่วนหนึ่งของการฝึกปฏิบัตินั้นจะส่งนักศึกษาไปฝึกงานในสถานประกอบการ

             รูปแบบที่ 3 จัดในลักษณะของนักศึกษาฝึกหัดโดยเรียนทฤษฏีในสถานศึกษาและฝึกปฏิบัติส่วนใหญ่ในสถานประกอบการโดยที่บุคลากรนั้นเป็นบุคลากรของสถานประกอบการ รูปแบบนี้ เป็นที่รู้จักกันว่าเป็นการฝึกในระบบทวิภาคี (Dual System)

สถานศึกษาส่วนมากจะจัดรูปแบบที่ 1 มีจำนวนไม่มากนักที่จัดรูปแบบที่ 2 ส่วนรูปแบบที่ 3  กรมอาชีวศึกษาได้เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อปีพุทธศักราช 2531 ที่วิทยาลัยเทคนิคท่าหลวงซีเมนต์ไทยอนุสรณ์ จังหวัดสระบุรี โดยได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมันและเรียกการจัดการศึกษาแบบนี้ว่า การจัดการอาชีวศึกษาระบบโรงเรียนโรงงาน (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2537:2) ซึ่งเป็นต้นแบบของการประสานงานระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการเพื่อเป็นแหล่งฝึกช่างชำนาญงาน สาเหตุที่จัดการศึกษาในระบบนี้เนื่องจากขีดจำกัดทางด้านงบประมาณจึงทำให้สถานศึกษาขาดแคลนอุปกรณ์สื่อการเรียนการสอน เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทันสมัย ส่งผลให้นักเรียนขาดประสบการณ์เชิงปฏิบัติ ไม่สามารถเข้าใจและใช้เครื่องมืออันทันสมัยที่มีอยู่ในสถานประกอบการ ได้รวมทั้งปัญหาในด้านการเปลี่ยนแปลงเทคโนโลยีอย่างรวดเร็วจึงทำให้สถานศึกษาไม่สามารถผลิตกำลังคนที่มีความสามารถตรงตามความต้องการของสถานประกอบการได้ (สำนักงานคณะกรรมการศึกษาแห่งชาติ.2537ซ3-5)กรมอาชีวศึกษาตะหนักถึงความสำคัญของการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนเพื่อรองรับความต้องการของผู้ศึกษา ผู้ปกครองและความต้องการของสถานประกอบการพร้อมทั้งรองรับและแก้ไขขีดจำกัดในระบบปกติ (สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2535: 18) ในปีการศึกษา 2538 จึง ขยายการดำเนินงานโครงการช่างฝึกหัดไปยังวิทยาลัยในสังกัดกองวิทยาลัยเทคนิคกรมอาชีวศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ได้แก่ วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี วิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี (กรมอาชีวศึกษา.2540: 1-4)และเปลี่ยนชื่อเป็นการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี (Dual Vocational Training) ซึ่งเป็นการดำเนินการจัดอาชีวศึกษาโดยความร่วมมือระหว่างวิทยาลัยในสังกัดกรมอาชีวศึกษากับสถานประกอบการ มีจุดมุ่งหมายเพื่อผลิตช่างฝีมือระดับกลาง ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ(สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อพัฒนาการศึกษาเพื่ออาชีพ.2534:23)สอดคล้องกับแผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ที่ให้ทุกส่วนของสังคมมีส่วนร่วมในการพัฒนาและรับผิดชอบการจัดการศึกษา(สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.2540:2)และนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการที่กำหนดให้สถานศึกษาในสังกัดกรมอาชีวศึกษาจัดการเรียนการสอนด้วยรูปแบบที่หลากหลายเช่นระบบทวิภาคี (วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี2541:2) การให้ภาคเอกชนหรือสถานประกอบการมีส่วนร่วมในการจัดการอาชีวศึกษา จึงเป็นแนวทางหนึ่ง ที่นำไปสู่การแก้ปัญหาในด้านคุณภาพของแรงงานระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ที่จำเป็นต้องมุ่งเนินทักษะและประสบการณ์ตรง เพื่อผลิตบุคลากรให้มีคุณภาพสอดคล้องกับความต้องการของสถานประกอบการ(วีระพันธ์ สิทธิพงศ์.2540:195)ความร่วมมือทั้งสองฝ่ายระหว่างสถานศึกษากับสถานประกอบการ จึงเป็นรูปแบบของการจัดการอาชีวศึกษาในลักษณะของความร่วมมือที่กำหนดให้ผู้ศึกษาได้เรียนภาคทฤษฎี ที่วิทยาลัยสัปดาห์ละ 2 วัน และฝึกภาคปฏิบัติที่สถานประกอบการสัปดาห์ละ 3-4 วัน ตลอดระยะเวลา 3 ปี เมื่อสำเร็จการศึกษาแล้ว ผู้ศึกษาจะได้วุฒิประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ระวีวรรณ ชินะตระกูล.2540:103)โดยวิทยาลัยแต่ละแห่งจะจัดการเรียนการสอน ตามความพร้อมของสถานประกอบการ ได้แก่ ช่างไฟฟ้า  ช่างอิเล็กทรอนิกส์ ช่างก่อสร้าง ช่างยนต์ ช่างเชื่อมโลหะแผ่น ช่างกลโรงงาน ช่างเครื่องประดับอัญมณีและการพิมพ์ (กรมอาชีวศึกษา.2540:5)

สถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี  ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี  วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี ได้ดำเนินการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ ในสาขาวิชาอุตสาหกรรมและบริหารธุรกิจในหลายสาขา และสาขาที่ได้ทำความร่วมมือที่ประสบความสำเร็จที่สุด คือสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก โดยร่วมมือการจัดการเรียนและการฝึกงานแบบทวิภาคี กับ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) บริษัท CRG (Central Restaurant Group) จำกัด เพื่อให้นักเรียนนักศึกษาได้รับความรู้ในด้านการค้าปลีกอย่างครอบคลุมและครบวงจรโดยเรียนจากประสบการณ์จริงตลอดจนการเตรียมความพร้อมสู่การเป็นเจ้าของธุรกิจส่วนตัว  ตั้งแต่ปีการศึกษา 2549 เป็นต้นมา ซึ่งเป็นหลักสูตรการเรียนการสอนที่มุ่งเน้นให้นักศึกษาได้เข้าใจถึงรูปแบบการทำงานในสถานประกอบการต่าง ๆ ทางด้านธุรกิจที่เกี่ยวกับการขายสินค้าหรือการให้บริการโดยตรงแก่ผู้บริโภค นักศึกษาจะได้เรียนภาคทฤษฏีกับทางวิทยาลัย และในขณะเดียวกันจะได้เรียนภาคปฏิบัติโดยการทำงานจริงกับบริษัทชั้นนำของประเทศ อาทิเช่น ร้าน 7-eleven, มิสเตอร์โดนัท, ไก่ทอด KFC, Auntie Anne's, Pepper Lunch, ไอศกรีม Cold Stone, Ryu ชาบู ร้านอาหารญี่ปุ่น Yoshinoya, ร้านอาหารญี่ปุ่น อ๊อตโตญ่า จากรายงานของงานทะเบียนสถานศึกษาในอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี เกี่ยวกับการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก พบว่ามีผู้เข้าศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ และสำเร็จการศึกษา ดังนี้

                ปีการศึกษา 2549        มีผู้เข้าศึกษา  35 คน สำเร็จการศึกษา  27 คน คิดเป็นร้อยละ 77.14 คน

                ปีการศึกษา 2550        มีผู้เข้าศึกษา  136 คน สำเร็จการศึกษา  129 คน คิดเป็นร้อยละ 94.85  คน

ปีการศึกษา 2551        มีผู้เข้าศึกษา  155 คน สำเร็จการศึกษา  134 คน คิดเป็นร้อยละ 86.45 คน

                ปีการศึกษา 2552        มีผู้เข้าศึกษา  204 คน สำเร็จการศึกษา  190 คน คิดเป็นร้อยละ 93.13 คน

                จากการรายงานข้องต้นจะเห็นว่านักเรียนที่เข้าศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ ระบบทวิภาคีสำเร็จการศึกษามากกว่าร้อยละ50 เนื่องจากเป็นการศึกษาระบบใหม่ ผู้ปกครอง ผู้ศึกษาและสถานประกอบการมีความเข้าในในระบบ(วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี.2541:4) และจากรายงานของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาพบว่า จำนวนผู้สำเร็จการศึกษาในระบบทวิภาคีของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ทั้ง 3 แห่งส่วนหนึ่งยังคนปฏิบัติงานอยู่ในสถานประกอบการสอดคล้องกับหลักการและจุดมุ่งหมายในการจัดการอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี ทีมีวัตถุประสงค์ในการผลิตกำลังคนระดับกลางให้มีความรู้ความสามารถตรงตามความต้องการของสถานประกอบการ(กรมอาชีวศึกษา.2540:13) แต่จำนวนนักเรียนที่สำเร็จการศึกษายังไม่สามารถบอกได้ว่า หลักสูตรมีผลสัมฤทธิ์ตามจุดมุ่งหมายเพียงใดจึงควรมีการติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษาจากหลักสูตรนั้นๆเพื่อนำข้อมูลที่สมบูรณ์มาเป็นแนวทางในการพัฒนาการเรียนการสอนต่อไป(ยุพา  อุดมศักดิ์.2515:15)

ดังนั้น ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาติดตามผู้สำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2549-2552 ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ผลที่ได้จากการวิจัยจะเป็นข้อมูลเบื้องต้นในการพิจารณาปรับปรุงในการเรียนการสอนในสถานศึกษาและรูปแบบฝึกงานในสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ความมุ่งหมายของการวิจัย

เพื่อศึกษาติดตามผลสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอาชีวศึกษากัยเทะบบอาชีการศึกษาตามหลักศุ

ระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ปีการศึกษา 2549-2552

ความสำคัญของการวิจัย

เพื่อเป็นข้อมูลในการปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนการสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอาชีวศึกษากัยเทะบบอาชีการศึกษาตามหลักศุ

ระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีกในสถานศึกษา และรูปแบบฝึกงานในสถานประกอบการให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น

ขอบเขตของการวิจัย

1. การวิจัยครั้งนี้มุ่งศึกษาติดตามผลผู้สำเร็จการศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีวศึกษากัยเทะบบอาชีการศึกษาตามหลักศุ

ระบบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2549-2552 ของสถานศึกษาในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี ในด้านคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 6 ด้าน คือ ความสามารถทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ ทักษะในการจัดการ  เจตคติที่ดีต่ออาชีพ  พฤติกรรมต่อสังคม   บุคลิกภาพ   การตระหนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง

                2. ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ประกอบด้วย

                                2.1 หัวหน้างานของผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 60 คน

                                2.2 ครูผู้สอน จำนวน  28  คน

                                2.3 ผู้สำเร็จการศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) อาชีวศึกษาระบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2549-2551 จำนวน  480 คน

3. ตัวแปรที่ศึกษา

                                3.1 สถานภาพของผู้ตอบแบบสอบถาม ได้แก่

                                      3.1.1หัวหน้าหน่วยงานและครูสอน แบ่งเป็น

                                                3.1.1.1 อายุ

                                                3.1.1.2 วุฒิการศึกษา

                                                3.1.1.3 ประสบการณ์ด้านอาชีวศึกษา

                                3.2 คุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีวศึกษาระบทวิภาคี สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก ปีการศึกษา 2549-2552 ในด้านต่าง ๆ ดังนี้

                                                3.2.1  ด้านความสามารถทางวิชาการและทักษะวิชาชีพ

                                                3.2.2  ด้านทักษะในการจัดการ

                                                3.2.3  ด้านเจตคติที่ดีต่อวิชาชีพ

                                                3.2.4  ด้านพฤติกรรมต่อสังคม

                                                3.2.5  ด้านบุคลิกภาพ

                                                3.2.6  ด้านตระหนักในการมีส่วนร่วมในการพัฒนาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง

 

นิยามศัพท์เฉพาะ

  1. อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี หมายถึง ความร่วมมือในการจัดการอาชีวศึกษาร่วมกันระหว่างสถานประกอบการและสถานศึกษาให้เป็นไปตามหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ  พุทธศักราช 2538
  2. ผู้ควบคุมการฝึก  หมายถึง ผู้ที่สถานประกอบการมอบหมายให้ทำหน้าที่ประสานงานกับสถานศึกษาในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีและรับผิดชอบดูแลการฝึกอาชีพของนักเรียนในสถานประกอบการ
  3. ครูฝึก หมายถึง ผู้ที่ทำหน้าที่การสอนและการฝึกอบรมในสถานประกอบการ ในการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี
  4. สถานศึกษา หมายถึงวิทยาลัยในสังกัดอาชีวศึกษาจังหวัดปทุมธานี  ประกอบด้วย วิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี  วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี
  5. สถานประกอบการ หมายถึง บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดที่ร่วมดำเนินการจัดอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก กับวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานี  วิทยาลัยเทคนิคธัญบุรี และวิทยาลัยการอาชีวศึกษาปทุมธานี
  6. ผู้สำเร็จการศึกษา หมายถึง ผู้เข้าศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)อาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  ปีการศึกษา  2549-2552  สาขาวิชาธุรกิจค้าปลีกและสำเร็จการศึกษา ในระหว่างปี 2551-2554
  7. คุณลักษณะของสำเร็จการศึกษา หมายถึง คุณสมบัติหรือพฤติกรรมที่สำเร็จการศึกษาหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี พึงมีและปฏิบัติในการดำเนินชีวิตได้แก่

                       7.1  ความสามารถทางด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ หมายถึง การนำความรู้จากการศึกษาวิชาชีพ มาใช้ในการทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

      7.2  ทักษะในการจัดการ หมายถึง การจัดระบบงาน สร้างงานในอาชีพ โดยพัฒนางานให้ก้าวหน้าอยู่เสมอ

      7.3  เจตคติที่ดีต่ออาชีพ หมายถึง การมีความมั่นใน ภาคภูมิในในอาชีพ ตลอดจนความสามารถในการทำงานเป็นหมู่คณะ รักหน่วยงาน องค์กร เคารพในสิทธิหน้าที่ของตนเองและผู้อื่น

      7.4  พฤติกรรมต่อสังคม หมายถึง การมีความรับผิดชอบต่อตนเอง ครอบครัว สังคม เห็นคุณค่าของศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น  อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสร้างสิ่งแวดล้อม

      7.5  บุคลิกภาพ  หมายถึง การแต่งกายที่เหมาะสมกับลักษณะของงาน มีความสุภาพอ่อนน้อม ทั้งคำพูดและกริยา มีความเป็นกันเองกับเพื่อนร่วมงาน

      7.6  การตระหนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมืองหมายถึง การมีความรักชาติ สำนึกในความเป็นคนไทย เสียสละเพื่อส่วนรวม การดำรงไว้ซึ่ง ความมั่นคงของชาติ ศาสนา  พระมหากษัตริย์ และการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข


สมมุติฐานในการวิจัย

                ผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ อาชีวศึกษาระบบทวิภาคีสาขาวิชาธุรกิจค้าปลีก  มีความรู้ความสามารถด้านวิชาการและทักษะวิชาชีพ  ด้านทักษะในการจัดการเจตคติที่ดีต่ออาชีพ  ด้านพฤติกรรมต่อสังคม ด้านบุคลิกภาพ ด้านการตระหนักในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจสังคมและการเมือง อยู่ในเกณฑ์ดี

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  19,636
Today:  7
PageView/Month:  97

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com